ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ประกอบธุรกิจหลัก 2 ประเภท ได้แก่

ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น มีทั้งหมด 8 แบรนด์ ดังนี้

โออิชิ แกรนด์ (1 สาขา)

โออิชิ แกรนด์ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 4 ด้วยบรรยากาศหรูหราและให้บริการด้วยรายการอาหาร ที่หลากหลายและหารับประทานได้ยาก โดยเปิดให้บริการ ตลอดทั้งวัน จำกัดเวลาในการรับประทานไว้ที่ 2 ชั่วโมง 30 นาที ในราคาปัจจุบันท่านละ 895 บาท

โออิชิ อีทเทอเรียม (5 สาขา)

“โออิชิ อีทเทอเรียม” นิยามใหม่ของร้านอาหารญี่ปุ่น ให้คุณได้สัมผัสรสชาติที่พาคุณเดินทางสู่ญี่ปุ่น ภายใต้ 3 แนวคิด ส่วนผสมที่ลงตัวประกอบด้วย EAT-EXPLORE-PREMIUM นำเสนออาหารญี่ปุ่นรสชาติเยี่ยมจากวัตถุดิบ ที่คัดสรรและส่วนผสมของความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ผสานกับวัฒนธรรมการกินของญี่ปุ่นอย่างลงตัว กับประสบการณ์ครั้งแรกของการรับประทานอาหารที่ให้ความสนุกเพลิดเพลินไปกับเส้นทางแห่งรสชาติที่หลากหลาย

โออิชิ บุฟเฟต์ (17 สาขา)

โออิชิ บุฟเฟต์ ให้บริการอาหารญี่ปุ่น เปิดให้บริการ ตลอดทั้งวันแบบไม่มีรอบการให้บริการ แต่จำกัด ระยะเวลาการรับประทานไว้ที่ 1 ชั่วโมง 45 นาที ในราคา ปัจจุบันราคาท่านละ 569 บาท ในเขตกรุงเทพมหานคร และราคาท่านละ 589 บาท ในเขตต่างจังหวัด

Nikuya (18 สาขา)

ร้านอาหารบุฟเฟต์ยากินิกุ ปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นให้บริการด้วยวัตถุดิบ คุณภาพดี ในราคาปัจจุบันท่านละ 519 บาท

ชาบูชิ (126 สาขา)

ในประเทศ 123 สาขา
ชาบูชิ ให้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ที่ลำเลียงมาด้วย ระบบสายพานให้ลูกค้าเลือกบริโภคโดยไม่จำกัดจำนวน ในราคาย่อมเยา ทั้งนี้ ชาบูชิ เน้นการให้บริการอาหาร ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวเอเชีย 2 ชนิด ได้แก่ สุกี้หม้อไฟญี่ปุ่น (ชาบู-ชาบู) และข้าวปั้นและข้าวห่อสาหร่ายหน้าต่าง ๆ (ซูชิ) โดยเปิดให้บริการตลอดทั้งวัน แต่จำกัดระยะเวลา การรับประทานไว้ที่ 1 ชั่วโมง 15 นาที ในราคาปัจจุบัน ท่านละ 399 บาท ในเขตกรุงเทพมหานคร และราคา ท่านละ 419 บาทและ 469 บาท ในเขตต่างจังหวัด โดยมี สาขาร้านอาหารในรูปแบบแฟรนไชส์จำนวน 1 สาขา

ต่างประเทศ 3 สาขา
ในปี 2558 บริษัทย่อยของบริษัทเปิดดำเนินการร้านอาหาร ชาบูชิในประเทศ เมียนมาร์ ณ เมืองย่างกุ้ง จำนวน 2 สาขา และเมืองมัณฑะเลย์ จำนวน 1 สาขา ในราคาปัจจุบันท่านละ 15 เหรียญสหรัฐ หรือ 15,000 จ๊าด

โออิชิ ราเมน (51 สาขา)

ธุรกิจร้านบะหมี่ญี่ปุ่นประเภทเส้นราเมนที่มีการพัฒนา สูตรการผลิตเส้นและสูตรปรุงน้ำซุปซึ่งเป็นเอกลักษณ์ มีรสชาติเข้มข้นและปรุงขึ้นเพื่อให้ถูกปากคนไทย ทั้งเมนู ญี่ปุ่นและเมนูรสจัดแบบไทยที่มีให้เลือกหลายรายการ

Kakashi (24 สาขา)

ร้านข้าวหน้าสไตล์ต่าง ๆ ญี่ปุ่นที่พิถีพิถันในทุกราย ละเอียด ด้วยเมนูมากมายที่คัดสรรมาจากทั่วเกาะญี่ปุ่น ให้คุณได้อร่อยกับข้าวหน้าต่าง ๆ ร้อน ๆ พร้อมเสิร์ฟ ทันใจในเวลาอันรวดเร็วและราคาประหยัด

โออิชิ เดลิเวอรี่ (5 สาขา)

บริการจัดส่งอาหารญี่ปุ่นถึงบ้านที่หมายเลขโทรศัพท์ 1773 ซึ่งให้บริการในพื้นที่ครอบคลุมทั้งกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และ 21 จังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 21.00 น. โดยคิดค่าบริการจัดส่งครั้งละ 40 บาท และเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าสามารถชำระด้วย บัตรเครดิตได้เมื่อสั่งอาหารขั้นต่ำมูลค่า 500 บาท

Snack Shop (2 สาขา)

คีออส (Kiosk) จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเครือโออิชิ ทั้งแซนวิช เครื่องดื่ม และอาหาร แช่แข็งที่เพิ่มความ สะดวกสบายให้แก่ลูกค้าในทุกโอกาส

ณ วันที่ 30 กันยายน 2559 บริษัทและบริษัทย่อยมีสาขา ร้านอาหารรวมทั้งสิ้น 244 สาขา โดยเป็นสาขาที่เปิดดำเนินการ ในประเทศไทยซึ่งครอบคลุมการให้บริการทั้งในกรุงเทพและ ต่างจังหวัด จำนวน 239 สาขา และสาขาที่เปิดดำเนินการ ในประเทศเมียนมาร์ จำนวน 3 สาขา นอกจากนี้ ร้านอาหาร จำนวน 2 สาขา เป็นสาขาที่ให้บริการในรูปแบบของแฟรนไชส์ ได้แก่ ร้านชาบูชิ สาขาเอ็มเอ็ม เมก้ามาร์เก็ต อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และ ร้านนิกุยะ สาขาบุรีรัมย์ คาสเซิล จังหวัด บุรีรัมย์

ธุรกิจอาหารพร้อมปรุงและพร้อมทาน (Ready to cook and Ready to eat Products)

ในปี 2559 บริษัทได้พัฒนาและออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม อาหารพร้อมปรุงและพร้อมทาน ทั้งแบบแช่เย็นและแช่แข็ง ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แซนวิชและเกี๊ยวซ่า รสชาติใหม่ ๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทาน ประเภท ข้าวหน้าและเส้นราเมนแบบแช่แข็ง ซึ่งส่งผลให้ยอดขายของ ธุรกิจดังกล่าวโดยรวมเติบโตสูงขึ้นจากปี 2558 ประมาณ ร้อยละ 7 ทั้งนี้ บริษัทจะยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มดังกล่าว ให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภคได้อย่างดียิ่งขึ้นและรองรับการขยายตัวของ ตลาดอาหารพร้อมทานที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น อันเนื่อง มาจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรม การบริโภคในปัจจุบันที่เน้นการรับประทานอาหารที่สะดวกและ รวดเร็ว ซึ่งอาหารพร้อมทานสามารถตอบสนองต่อรูปแบบ การดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวได้เป็น อย่างดี

Data is presented as of Year 2016.

ธุรกิจเครื่องดื่ม

บริษัท เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มต่างๆ และมีบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายดังต่อไปนี้

เครื่องดื่ม รสชาติ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กล่อง กระป๋อง
800 ml. 500 ml. 380 ml. 400 ml. 250 ml. 320 ml.
กรีนที น้ำผึ้งผสมมะนาว  
ข้าวญี่ปุ่น    
รสดั้งเดิม      
สตรอเบอร์รี่          
สูตรไม่มีน้ำตาล          
ลิ้นจี่      
องุ่นเคียวโฮ          
ซากุระ สตรอเบอร์รี่        
คาบูเซฉะ สูตรไม่มีน้ำตาล          
สูตรน้ำตาลน้อย          
แบล็คที ชาดำผสมมะนาว          
ฟรุตโตะ สตรอเบอร์รี่ เมลอน          
แอ๊ปเปิ้ลเขียว องุ่นขาว          
ชาคูลล์ซ่า น้ำผึ้งผสมมะนาว          
โอเฮิร์บ โสมน้ำผึ้ง          
รากบัวพุทธาจีน          
รสมะขาม          

Data is presented as of Year 2016.

ประวัติความเป็นมาของบริษัท

  • บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างความเติบโตแก่ธุรกิจและก้าวเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทย่อยในต่างประเทศ บริษัทได้ดำเนินการเพิ่มทุนใน Oishi International Holdings Limited และ Oishi F&B (Singapore) Pte. Ltd. โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรองรับการเพิ่มทุนของ Oishi Myanmar Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนและรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคตต่อไปนอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาบริษัทยังมีพัฒนาการด้านการดำเนินธุรกิจที่สำคัญในแต่ละสายธุรกิจ ดังนี้

    ธุรกิจอาหาร

    ในปี 2559 กลุ่มบริษัทโออิชิ ได้พัฒนาและยกระดับสินค้าและการให้บริการภายในร้านอาหารแบรนด์ต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทโออิชิ ดังนี้

    1. ร้านโออิชิ แกรนด์ จัดเทศกาลอาหารพิเศษในเทศกาล “Phuket Lobster Festival 2016” ในช่วงเทศกาลวันแม่แห่งชาติโดยนำกุ้งมังกรภูเก็ต (Phuket Lobster ) มาใช้เป็นวัตถุดิบในรายการอาหารที่หลากหลายในราคาสุดพิเศษ ซึ่งกุ้งมังกรภูเก็ต ถือเป็นวัตถุดิบที่มีชื่อเสียงอย่างมากของจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับผลตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังถือเป็นการส่งเสริมและช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครู้จักและบริโภคกุ้งมังกรภูเก็ตอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

    2. ร้านโออิชิ บุฟเฟต์ จัดเทศกาลอาหารสุดพิเศษตลอดปีเพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น เทศกาลมากิ ที่นำเสนอซุปเปอร์ มากิ ซึ่งเป็นสุดยอดรายการอาหารฟิวชั่นมากิที่ครบทุกมิติความอร่อย และรายการอาหารใหม่ชีสลาวากระทะร้อน ซึ่งเป็นรายการอาหารที่ผสมผสานอาหารกระทะร้อนเข้ากับชีสได้อย่างลงตัว

    3. ร้านชาบูชิ บริษัทได้ดำเนินแผนงานการปรับรูปแบบการให้บริการใหม่ ภายใต้แนวคิด “Shabushi and So Much More ชาบู ซูชิและอีกมากมายล้นสายพาน” ที่ปรับการให้บริการภายในร้านอาหารโดยเน้นการสร้างคุณค่าและความหลากหลายของรายการอาหารและการให้บริการที่น่าประทับใจแก่ผู้ใช้บริการ

    4. ร้านโออิชิ ราเมน นำเสนอรายการอาหารใหม่ ได้แก่ นาเบะหรือหม้อไฟตามแบบฉบับญี่ปุ่น โดยมีการหมุนเวียนเปลี่ยนรสชาติทุกรอบระยะเวลา 2 เดือน เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้แก่ผู้บริโภค โดยได้รับผลตอบรับอย่างดีมากจากผู้บริโภค

    ธุรกิจอาหารพร้อมรับประทาน

    ในปี 2559 เนื่องจากบริษัทดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายอาหารซึ่งถือเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้แล้วหมดไปอย่างรวดเร็ว (Fast-moving consumer goods) ดังนั้น บริษัทจึงจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเพิ่มความหลากหลายของกลุ่มผลิตภัณฑ์รสชาติ รูปแบบ และแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1. การออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์แซนวิชรูปแบบใหม่ โออิชิ แซนวิชอบร้อน ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลผู้บริโภคพบว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีช่องทางการจัดจำหน่ายหลักผ่านร้านแฟมิลี่ มาร์ท ซึ่งเป็นร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ

    2. การออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โออิชิ เกี๊ยวซ่ารวมรส ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมการจำหน่ายเกี๊ยวซ่าที่มีการนำเกี๊ยวซ่าต่างรสชาติถึง 5 รสชาติ ได้แก่ รสหมู รสไก่ รสกุ้ง รสหมูสาหร่าย และรสหมูทาโกะยากิ มาบรรจุจำหน่ายรวมกันในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน โดยจัดจำหน่ายผ่านร้าน 7-Eleven ซึ่งมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ

    3. การออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โออิชิ แซนวิช พลัส ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แซนวิชสูตรขนมปังโฮลวีท ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายที่ใส่ใจสุขภาพและตอบสนองความทันสมัยที่เน้นกระแสอาหารเพื่อสุขภาพ

    4. การออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โออิชิ โอปัง ซึ่งเป็นขนมปังรูปหน้าหมีสอดไส้ ที่สามารถแต่งหน้าตุ๊กตาหมีได้ตามจินตนาการของผู้บริโภคโดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มเด็กที่ชอบตกแต่งหน้าตุ๊กตาและจัดจำหน่ายผ่านร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ

    5. การขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานแช่แข็งประเภทเส้นราเมนเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมบริโภคอาหารประเภทเส้นแบบญี่ปุ่น โดยจัดจำหน่ายผ่านช่องทางไฮเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นหลัก

    ธุรกิจเครื่องดื่ม

    ในปี 2559 บริษัทมีการพัฒนาและออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องรวมถึงการคิดค้นพัฒนาสินค้ารสชาติและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย ถูกใจกลุ่มวัยรุ่น และการขยายฐานการจัดจำหน่ายสินค้าไปยังกลุ่มประเทศใหม่ ๆ ดังนี้

    1. การออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โออิชิ ชาเขียวกลิ่นองุ่นเคียวโฮ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ชาเขียวเคี้ยวได้ ที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี และผลิตภัณฑ์ชาเขียวโออิชิ กลิ่นซากุระ สตรอเบอร์รี่ ที่มาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนสีได้ตามอุณหภูมิ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบการบริโภคชาเขียว ให้ได้รับความแปลกใหม่และสนุกสนานมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน 2559

    2. การขยายตลาดการจัดจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศไปยังประเทศใหม่ ๆ ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

    Data is presented as of Year 2016.

  • จัดตั้ง Oishi Group Limited Liability Company (OGLLC) ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อรองรับโอกาสการขยายตัวของธุรกิจในต่างประเทศ

    เปิดดำเนินการร้าน “ชาบูชิ” เพิ่มอีก 1 สาขาในเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ ที่ Junction Square Shopping Center

    เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มรสชาติใหม่ “โออิชิ คาบูเซฉะ สูตรน้ำตาลน้อย” เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบชาเขียวระดับพรีเมี่ยมและห่วงใยสุขภาพ

    เริ่มจำหน่ายเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม “โออิชิ รสแตงโม” จำหน่ายเฉพาะช่วงฤดูร้อน

    เพิ่มขนาดบรรจุภัณฑ์ใหม่ เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม “โออิชิ ขนาด 800 มล.”

    ปรับเปลี่ยนขนาดและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม “โออิชิ ฟรุตโตะ” จากขนาด 350 มล. เป็น 380 มล.

    เชิญเชฟกระทะเหล็กจากประเทศญี่ปุ่น “เชฟฮิโรยูกิ ซาไก” มารังสรรค์เมนูสุดพิเศษ ให้ลูกค้าได้ลิ้มลองภายในร้าน “โออิชิ บุฟเฟต์” ตลอดทั้งปี

    เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มแซนวิชใหม่ ภายใต้ชื่อ “โออิชิ เทรนดี้โรล” ผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อ

    เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์รสชาติใหม่ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ “โออิชิ เกี๊ยวซ่า” อาทิ เกี๊ยวซ่าไส้สไปซี่ซีฟู๊ด ไส้กระเพราหมูและไส้หมูยากินิกุ

    เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งประเภทข้าว “โออิชิ เบนโตะ” ในหลากหลายรสชาติ ได้แก่ข้าวหมูสไปซี่ ข้าวหมูซอสญี่ปุ่น และข้าวหน้าไก่เทอริยากิโดยจำหน่ายในช่องทางไฮเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์มาร์เก็ต

    จำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ “โออิชิ คาบูเซฉะ สูตรน้ำตาลน้อย” เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบชาเขียวระดับพรีเมี่ยมและห่วงใยสุขภาพ และ “โออิชิ รสแตงโม” ขนาด 380 มิลลิลิตร (มล.) ซึ่งจัดจำหน่ายเฉพาะช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน เท่านั้น

    ปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชาเขียว “โออิชิ คาบูเซฉะ” ให้มีความสดใสและทันสมัย แต่ยังคงความเป็นญี่ปุ่นแบบพรีเมี่ยม และการปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชาดำ โซดา “โออิชิ ชาคูลล์ซ่า” เป็นกระป๋องทรงสลีค

    Data is presented as of Year 2016.

  • จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศ อันได้แก่ บริษัท โออิชิ สแน็ค จำกัด ในประเทศไทย Oishi F&B (Singapore) Pte. Ltd. ("OSPL") ในประเทศสิงค์โปร์ และ Oishi Myanmar Limited ("OML") ในประเทศสาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาร์ (ประเทศเมียนมาร์)

    เปิดดำเนินการร้านอาหารชาบูชิ ในเมืองย่างกุ้ง และ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์

    ออกแซนวิชรูปแบบใหม่ "โออิชิ เทรนดี้" 3 รสชาติ ได้แก่ "แฮมไก่ชีส" "ทูน่าซีซาร์สลัด" และ "ปูอัดอลาสก้าไข่กุ้ง" เพื่อจัดจำหน่ายภายในร้านโลตัส เอ็กซ์เพรส

    ออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ได้แก่ เครื่องดื่มชาเขียว พร้อมดื่ม "โออิชิ คาบูเซฉะ" ซึ่งเป็นเครื่องดื่มชาเขียว ผลิตจากชาคลุมระดับพรีเมี่ยม เครื่องดื่มชาสมุนไพร พร้อมดื่ม "โออิชิ โอเฮิร์บ" และเครื่องดื่มชาผสมนม รสชาติใหม่ "โออิชิ โตเกียว บานาน่า"

    ในเดือนธันวาคม 2557 โครงการ Cold Aseptic Filling สายการผลิตที่ 3 ที่โรงงานนิคมอุตสาหกรรม นวนคร เริ่มผลิตเพื่อการพาณิชย์

    Data is presented as of Year 2016.

  • ในเดือนมีนาคม โครงการ Cold Aseptic Filling สายการผลิตที่ 2 ที่อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เริ่มผลิตเพื่อการพาณิชย์

    เปิดดำเนินการครัวกลางแห่งใหม่ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

    นำชาเขียวผสมผลไม้ "ฟรุตโตะ" กลับมาขายอีกครั้ง พร้อมออกรสชาติใหม่ 3 รสชาติได้แก่ "สตรอเบอรี่ และเมลอน", "เลมอนและเบอรี่" และ "แอ๊ปเปิ้ลเขียวและองุ่นขาว"

    ออกเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มรสชาติใหม่ "ลิ้นจี่"

    ออกแซนวิชรสชาติใหม่ "หมูอบชีส" และเกี๊ยวซ่า รสชาติใหม่ "หมูทาโกะยากิ"

    ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนเพิ่มอีก 4 โครงการ สำหรับ ที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และที่อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี

    Data is presented as of Year 2016.

  • เปิดตัวผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดกรอบ "โอโนริ"

    ออกเครื่องดื่มชาเขียวแบบกล่อง UHT ลายการ์ตูน "One Piece"

    เปิดให้บริการร้านข้าวหน้าสไตล์ญี่ปุ่น "คาคาชิ"

    ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการ Cold Aseptic Filling สายการผลิตที่ 2

    ออกผลิตภัณฑ์ชาเขียวขวดแก้วแบบคืนขวด

    Data is presented as of Year 2016.

  • ออกเครื่องดื่มชาเขียวผสมน้ำผลไม้ Fruito

    ออกเครื่องดื่มชาเขียวกระป๋องผสมโซดาเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

    เปิดร้านอาหาร Nikuya ยากินิกุ บุฟเฟต์ปิ้งย่างในสไตล์ญี่ปุ่น

    Data is presented as of Year 2016.

  • ออกเครื่องดื่มรสชาติใหม่ Goji Berry

    ซื้อที่ดินเพิ่มเติมที่โรงงานนวนคร ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 61.5 ไร่

    ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนเพิ่มสำหรับสองโครงการคือ Cold Aseptic Filling และ UHT

    Data is presented as of Year 2016.

  • เปิดให้บริการร้านอาหารอุด้งและโซบะ Kazokutei แฟรนไชส์จากประเทศญี่ปุ่น

    ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ อะมิโน โอเค มาเป็น อะมิโน พลัส โดยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดและ จุดขายใหม่ทั้งหมด

    Data is presented as of Year 2016.

  • ออกผลิตภัณฑ์ใหม่กาแฟพร้อมดื่มภายใต้ชื่อ คอฟฟิโอ

    บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท

    Data is presented as of Year 2016.

  • ออกผลิตภัณฑ์ชาเขียวรสชาดำผสมมะนาว

    Data is presented as of Year 2016.

  • เปิดดำเนินการโรงงานอมตะนคร

    Data is presented as of Year 2016.

  • เริ่มผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำผลไม้ผสมอะมิโนภายใต้ชื่อ อะมิโน โอเค

    Data is presented as of Year 2016.

  • วันที่ 25 สิงหาคม 2547 นำหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

    เปิดบริการ โออิชิ แกรนด์ แกรนด์บุฟเฟต์ ที่สยามดิสคัฟเวอรี่

    Data is presented as of Year 2016.

  • เปิดดำเนินการครัวกลางแห่งใหม่ที่โรงงานนวนคร หน่วยผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อสนับสนุนการขาย ภายในร้านค้าของบริษัท

    เริ่มการผลิตเครื่องดื่มชาเขียวออกสู่ตลาดภายใต้ชื่อ โออิชิ กรีนที

    Data is presented as of Year 2016.

  • เปิดบริการร้านอาหารระบบสายพานสไตล์บุฟเฟต์ที่บริการทั้งข้าวปั้นหน้าต่างๆ และสุกี้หม้อไฟญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ ชาบูชิ

    Data is presented as of Year 2016.

  • เปิดให้บริการร้านบะหมี่ญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ โออิชิ ราเมน

    Data is presented as of Year 2016.

  • วันที่ 9 กันยายน 2542 เปิดดำเนินการร้านอาหารญี่ปุ่น โออิชิ

    Data is presented as of Year 2016.

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์

"เป็นผู้นำและสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนรุ่นใหม่"

พันธกิจ

รักษาคุณภาพการผลิตและการบริการธุรกิจ ทางด้านอาหารเบเกอรี่ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ มุ่งมั่นสร้างและรักษาความนิยมของผู้บริโภคในสินค้าของ “โออิชิ” ให้มีความต่อเนื่องอีกทั้งให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานมีการจัดการด้านสุขลักษณะที่ดี

เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพปลอดภัยและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิต การวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการแข่งขันในด้านราคาและด้านคุณภาพกับคู่แข่งขัน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น

Data is presented as of Year 2016.

สารจากประธานกรรมการ

ในปี 2559 สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศ ประกอบกับสภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงทั้งในธุรกิจเครื่องดื่มและธุรกิจอาหาร ปัจจัยภายนอกเหล่านี้ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจของบริษัท ในปีนี้มีความท้าทายตามสภาพแห่งความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ด้วยความร่วมมือ มุ่งมั่นและทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่และบริหารกิจการ อย่างเต็มที่ของผู้บริหารและพนักงานทุกคน รวมถึงการดำเนินธุรกิจตามแผน “วิสัยทัศน์ 2020” ซึ่งเป็นแผนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ที่ให้ความสำคัญกับการเป็นผู้นำทางธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอย่างยั่งยืนและแข็งแกร่งโดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 เพื่อสร้างความเติบโต และความแข็งแกร่งให้เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 5 ประการได้แก่

  1. การเติบโต (Growth): การสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในด้านรายได้และกำไรให้แก่ธุรกิจอาหารและธุรกิจเครื่องดื่มของบริษัท
  2. ความหลากหลาย (Diversity): การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายทั้งประเภทผลิตภัณฑ์และราคาจำหน่าย รวมถึงการผสานกำลังของบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่หลากหลายภายในกลุ่มธุรกิจ
  3. ตราสินค้า (Brands): การสร้างตราสินค้าให้เป็นที่นิยมและอยู่ในใจผู้บริโภคอย่างยั่งยืน โดยการรักษาความเป็นผู้นำทั้งในตลาด อาหารญี่ปุ่น ชาเขียวและชาพร้อมดื่มในประเทศไทย ผ่านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการตลาดที่สร้างสรรค์ รวมถึงการสร้าง ตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ
  4. การขายและกระจายสินค้า (Reach): การริเริ่มและสรรหาช่องทางการตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึง กลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายและครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ
  5. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism): การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร รวมถึงสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานในการทำงานเพื่อสร้างเสริม ศักยภาพของบุคลากร

การดำเนินการตามกลยุทธ์หลักดังกล่าวได้ช่วยพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ รวมทั้งต่อยอดและเสริมสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งของกลุ่มบริษัทอันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพจากจุดแข็งในด้านขนาด ความหลากหลายขององค์กร และทำให้การดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือและเสริมสร้างพลัง (synergy) ภายในกลุ่มบริษัทซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานในปีที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยม

นอกจากนี้ บริษัทดำเนินกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่องเพื่อคงความเป็นผู้นำทางการตลาด โดยเน้นการสร้างความรับรู้ในตราสินค้าและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบที่สร้างสรรค์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อาทิ “โออิชิ ชาเขียว กลิ่นองุ่นเคียวโฮ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของชาพร้อมดื่มที่มีการผสมผสานความอร่อยของวุ้นมะพร้าวลงในชาเขียว โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างดีจาก ผู้บริโภคจึงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ขายดีที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา จากความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างแบรนด์และการศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งทั้งในตลาดชาพร้อมดื่ม (RTD tea market) และชาเขียวพร้อมดื่ม (Pure RTD green tea market) ในอัตราร้อยละ 43 และร้อยละ 45.3 ตามลำดับ มีผลทำให้ได้รับรางวัล “แบรนด์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในประเทศไทย” (Thailand’s Most Admired Brand Award) ในกลุ่มเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม ประจำปี 2559 จากนิตยสารแบรนด์เอจ โดยรางวัลดังกล่าวพิจารณาจากความเห็นของผู้บริโภคทั่วประเทศซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้า อาทิเช่น ภาพลักษณ์องค์กร ภาพพจน์แบรนด์ พนักงานและตัวแทนจำหน่าย ราคาและโปรโมชั่น การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ รางวัลดังกล่าวจึงช่วยตอกย้ำถึงความเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจผู้บริโภคที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองกับกระแสความนิยมและความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน

จากความมุ่งมั่นและทุ่มเทของผู้บริหารและพนักงานทุกคน รวมถึงการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ในปี 2559 บริษัทมีกำไรสุทธิจำนวน 880 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 176 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 แม้ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลผลการดำเนินงาน 9 เดือนเทียบกับ 12 เดือน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงรอบบัญชีของบริษัทจากเดิมเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปีเป็นเริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายนของทุกปี โดยให้มีผลเริ่มรอบปีบัญชีแรกในปี 2559 ซึ่งจะมีระยะเวลา 9 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 และสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2559 ก็ตาม ในด้านยอดขายบริษัทมียอดขายรวมจำนวน 10,399 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนกำไรสุทธิร้อยละ 8.5 ของยอดขายรวม เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราส่วนกำไรสุทธิร้อยละ 5.5 ของยอดขายรวมในปีที่ผ่านมา จากผลการดำเนินงานที่ดีในปีนี้ บริษัทได้รับการจัดอันดับเครดิตขององค์กรจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อเดือนตุลาคม 2559 ที่ระดับ A+ เพิ่มขึ้นสองระดับจากปี 2558 ที่ได้รับอันดับเครดิตในระดับ A- สะท้อนให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของบริษัทที่มีความมั่นคงและแข็งแกร่งขึ้นในทุกด้าน รวมไปถึงการเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชาเขียวชั้นนำของประเทศไทยและมีตราสัญลักษณ์ซึ่งเป็นที่รู้จักและอยู่ในใจผู้บริโภค ซึ่งแสดงถึงศักยภาพทางการเงินและสถานะทางการตลาดที่พร้อมรองรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในระยะยาว บริษัทได้เริ่มดำเนินการโครงการสายการผลิตแบบ Cold Aseptic Filling หรือ CAF สายการผลิตที่ 4 ณ โรงงานอุตสาหกรรมอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งมั่นใจว่าสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งและรองรับการขยายตัวของธุรกิจภายใต้แบรนด์ของบริษัท

สำหรับการขยายธุรกิจในต่างประเทศ บริษัทยังคงมุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทย่อย ในต่างประเทศผ่านการเพิ่มทุนของ Oishi International Holdings Limited และ Oishi F&B (Singapore) Pte. Ltd. โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อรองรับการเพิ่มทุนของ Oishi Myanmar Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สำหรับเป็นเงินทุน หมุนเวียนและรองรับการขยายตัวของธุรกิจอาหารในอนาคต

ในส่วนของความรับผิดชอบและการดูแลสังคม บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาภาพลักษณ์และการทำกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) อย่างต่อเนื่องทั้งในกระบวนการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทได้มุ่งเน้นและสนับสนุนด้านการศึกษา การกีฬาตลอดจนการส่งเสริมการสืบทอดศิลปะวัฒนธรรมไทยและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน

ในนามของคณะกรรมการบริษัท ขอเรียนว่าผู้บริหารและพนักงานทุกคนต่างมีความมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่และดำเนินธุรกิจเพื่อนำพาบริษัทให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในธุรกิจเครื่องดื่มและธุรกิจอาหาร อีกทั้งรักษาความเป็นผู้นำทางการตลาดอาหารญี่ปุ่นและธุรกิจชาเขียว โดยใช้เครือข่ายทางธุรกิจทั้งด้านการผลิตและการจัดจำหน่ายของบริษัทย่อยภายใต้กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อที่จะสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคงทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ อันเป็นที่ประจักษ์ชัดด้วยผลการดำเนินงานอันเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่งในปี 2559 นี้จึงขอให้ท่านได้โปรดให้ความไว้วางใจและสนับสนุนการดำเนินกิจการของผู้บริหารของบริษัท เพื่อความเจริญของบริษัทและผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยชอบธรรม

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
ประธานกรรมการบริษัท

Data is presented as of Year 2016.

โครงสร้างองค์กร

Click on picture to enlarge

Data is presented as of Year 2016.

โครงสร้างกลุ่มบริษัท

Click on picture to enlarge

Data is presented as of Year 2016.

คณะกรรมการบริษัท

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล

ประธานกรรมการ
กรรมการอิสระ
กรรมการสรรหา
และกรรมการกำหนดค่าตอบแทน

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี

รองประธานกรรมการ
ประธานกรรมการบริหาร
กรรมการสรรหา
กรรมการกำหนดค่าตอบแทน
และกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นายวิกรม คุ้มไพโรจน์

กรรมการอิสระ
ประธานกรรมการตรวจสอบ
ประธานกรรมการสรรหา
กรรมการกำหนดค่าตอบแทน
และกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

กรรมการอิสระ
กรรมการตรวจสอบ
ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
และประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นายชัย จรุงธนาภิบาล

กรรมการอิสระ
กรรมการตรวจสอบ
ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง
และกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นายอวยชัย ตันทโอภาส

กรรมการ
และรองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 1

นายสิทธิชัย ขัยเกรียงไกร

กรรมการ
รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 2
และกรรมการกำหนดค่าตอบแทน

นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล

กรรมการผู้จัดการ
กรรมการบริหาร
กรรมการบริหารความเสี่ยง
และกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นายพิษณุ วิเชียรสรรค์

กรรมการ
กรรมการบริหาร
และกรรมการบริหารความเสี่ยง

การเข้าร่วมอบรมของกรรมการในหลักสูตร ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors) หรือสถาบันอื่น รวมถึงการเข้าอบรมของคณะกรรมการอิสระตามข้อแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

รายชื่อกรรมการของบริษัท

Directors
Certification
Progran
(DCP)

Directors
Accreditation
Progran
(DAP)

Audit
Committee
Progran
(ACP)

Role of the
Chairman
Progran
(RCP)

อื่นๆ

นายประสิทธิ์
โฆวิไลกูล

-

DAP/2005

-

-

Quality of
Financial
Reporting/2004
FND/2004

นายฐาปน
สิริวัฒนภักดี

-

DAP/2004

-

-

-

นายวิกรม
คุ้มไพโรจน์

-

Class of 63/2007

-

-

CMA Class14
Anti-Corruption for
Executive Program
Class of 7/2013
SFE Class of
22/2014
AACP Class of
23/2016

นางสาวพจนีย์
ธนวรานิช

Class of 17/2002
DCPU Class
of 1/2014

-

Class of 32/2010

Class of 13/2006

RCC Class of
4/2007
CMA Class 8
TEPCoT Class of
3/2010
FGP Class of
2/2011
ASMP Class 2
AACP Class of
10/2013
ACEP Class of
7/2013
ITG Class of
2/2016

นายชัย
จรุงธนาภิบาล

Class of 29/2003

-

Class of 4/2005

-

นายอวยชัย

DCP/2007

DAP/2004

-

Class of 29/2012

นายสิทธิชัย
ชัยเกรียงไกร

Class of 26/2003
Refresher Course
2/2006

-

-

-

นายพิษณุ
วิเชียรสรรค์

-

DAP/2004

-

-

Mr. Prasit Kovilaikool

Directors Certification Progran (DCP)

-

Directors Accreditation Progran (DAP)

DAP/2005

Audit Committee Progran (ACP)

-

Role of the Chairman Progran (RCP)

-

Others

Quality of Financial Reporting/2004 FND/2004

Mr. Thapana Sirivadhanabhakdi

Directors Certification Progran (DCP)

-

Directors Accreditation Progran (DAP)

DAP/2004

Audit Committee Progran (ACP)

-

Role of the Chairman Progran (RCP)

-

Others

-

Mr. Vikrom Koompirochana

Directors Certification Progran (DCP)

-

Directors Accreditation Progran (DAP)

Class of 63/2007

Audit Committee Progran (ACP)

-

Role of the Chairman Progran (RCP)

-

Others

CMA Class14 Anti-Corruption for Executive Program Class of 7/2013
SFE Class of 22/2014
AACP Class of 23/2016

Ms. Potjanee Thanavaranit

Directors Certification Progran (DCP)

Class of 17/2002
DCPU Class of 1/2014

Directors Accreditation Progran (DAP)

-

Audit Committee Progran (ACP)

Class of 32/2010

Role of the Chairman Progran (RCP)

Class of 13/2006

Others

RCC Class of 4/2007
CMA Class 8
TEPCoT Class of 3/2010
FGP Class of 2/2011
ASMP Class 2
AACP Class of 10/2013
ACEP Class of 7/2013
ITG Class of 2/2016

Mr. Chai Jroongtanapibarn

Directors Certification Progran (DCP)

Class of 29/2003

Directors Accreditation Progran (DAP)

-

Audit Committee Progran (ACP)

Class of 4/2005

Role of the Chairman Progran (RCP)

-

Others

-

Mr. Ueychai Tantha-Obhas

Directors Certification Progran (DCP)

DCP/2007

Directors Accreditation Progran (DAP)

DAP/2004

Audit Committee Progran (ACP)

-

Role of the Chairman Progran (RCP)

Class of 29/2012

Others

-

Mr. Sithichai Chaikriangkrai

Directors Certification Progran (DCP)

Class of 26/2003
Refresher Course 2/2006

Directors Accreditation Progran (DAP)

-

Audit Committee Progran (ACP)

-

Role of the Chairman Progran (RCP)

-

Others

-

Mr. Pisanu Vichiensanth

Directors Certification Progran (DCP)

-

Directors Accreditation Progran (DAP)

DAP/2004

Audit Committee Progran (ACP)

-

Role of the Chairman Progran (RCP)

-

Others

-

Data is presented as of Year 2016.

คณะผู้บริหาร

นายไพศาล อ่าวสถาพร

รองกรรมการผู้จัดการ
กรรมการบริหาร
และกรรมการบริหารความเสี่ยง

นางเจษฎากร โคชส์

รองกรรมการผู้จัดการ
และกรรมการบริหารความเส่ียง

นายธานี พรพิสุทธิ์ศักดิ์

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
และกรรมการบริหารความเส่ียง

นางกชกร อรรถรังสรรค์

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอาหาร
และกรรมการบริหารความเส่ียง

Data is presented as of Year 2016.

กรรมการชุดย่อย

คณะกรรมการ

ลำดับ ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ
2 นายอวยชัย ตันทโอภาส รองประธานกรรมการ คนที่ 1
3 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร รองประธานกรรมการ คนที่ 2
4 นายลี เม็ง ตัท รองประธานกรรมการ คนที่ 3
5 นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการ
6 นายพิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการ
7 นางสุรีย์พร ประดิษฐ์ทัศนีย์ กรรมการ
8 นายไพศาล อ่าวสถาพร กรรมการ

คณะกรรมการตรวจสอบ

ลำดับ ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายวิกรม คุ้มไพโรจน์ ประธานกรรมการตรวจสอบ
2 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช กรรมการตรวจสอบ
3 นายชัย จรุงธนาภิบาล กรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ลำดับ ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายชัย จรุงธนาภิบาล ประธานคณะกรรมการ
2 นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการ
3 นายพิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการ
4 นางสุรีย์พร ประดิษฐ์ทัศนีย์ กรรมการ
5 นายไพศาล อ่าวสถาพร กรรมการ
6 นางเจษฎากร โคชส์ กรรมการ
7 นายธานี พรพิสุทธิ์ศักดิ์ กรรมการ
8 นางสาวจารุณี กังวานวงศ์สกุล กรรมการ
9 นายสุรอรรถ ไชยวงษ์ กรรมการ
10 นางกชกร อรรถรังสรรค์ กรรมการ
11 นายชัยวุฒิ จิรันดร กรรมการ
12 นายจักรวาล แม้นสุวรรณ กรรมการ
13 นางสาวชนัทนุช วงศ์วรรณ กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการสรรหา

ลำดับ ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายวิกรม คุ้มไพโรจน์ ประธานกรรมการสรรหา
2 นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล กรรมการสรรหา
3 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการสรรหา

คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน

ลำดับ ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง
1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
2 นายวิกรม คุ้มไพโรจน์ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน
3 นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล กรรมการกำหนดค่าตอบแทน
4 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการกำหนดค่าตอบแทน
5 นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการกำหนดค่าตอบแทน

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ลำดับ ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง
1 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช ประธานกรรมการ
2 นายวิกรม คุ้มไพโรจน์ กรรมการ
3 นายชัย จรุงธนาภิบาล กรรมการ
4 นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการ
5 นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการ

Data is presented as of Year 2016.

เลขานุการบริษัท

นางศศินี เหมทานนท์

เลขานุการบริษัท

Data is presented as of Year 2016.

หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน

นางสาวชนัทนุช วงศ์วรรณ

ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
กรรมการบริหารความเสี่ยงและเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

Data is presented as of Year 2016.

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Data is presented as of Year 2016.

จรรยาบรรณธุรกิจ

จรรยาบรรณโออิชิกรุ๊ป

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Data is presented as of Year 2016.

ข้อบังคับบริษัท

ข้อบังคับของบริษัท

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Data is presented as of Year 2016.

หนังสือบริคณห์สนธิ

หนังสือบริคณห์สนธิ

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Data is presented as of Year 2016.

หนังสือรับรองบริษัท

หนังสือรับรองบริษัท

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Data is presented as of Year 2016.

กฏบัตรคณะกรรมการ

กฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

กฎบัตรของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

กฎบัตรของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Data is presented as of Year 2016.

รายงานการถือหุ้นของคณะกรรมการและผู้บริหาร

ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง หุ้นสามัญ
1. นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ประธานกรรมการ / กรรมการอิสระ -
2. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี รองประธานกรรมการ -
3. นายวิกรม คุ้มไพโรจน์ กรรมการอิสระและ / ประธานกรรมการตรวจสอบ -
4. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช กรรมการอิสระและ / กรรมการตรวจสอบ -
5. นายชัย จรุงธนาภิบาล กรรมการอิสระและ / กรรมการตรวจสอบ -
6. นางนงนุช บูรณะเศรษฐกุล (2) กรรมการผู้จัดการ -
7. นายอวยชัย ตันทโอภาส กรรมการ -
8. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการ -
9. นายพิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการ -
10. นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ -
11. นางเจษฎากร โคชส์ รองกรรมการผู้จัดการ -
12. นางสาวเทียนทิพย์ นาราช รองกรรมการผู้จัดการ -
13. นายธานี พรพิสุทธิ์ศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ -
14. นางไพฑูรย์ ศิริบวรเกียรติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ -
15. นางกชกร อรรถรังสรรค์ (3) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ -

Data is presented as of Year 2016.

ระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสและการให้ความคุ้มครอง

ระเบียบการรับเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสและการให้ความคุ้มครองตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

Data is presented as of Year 2016.

ปัจจัยความเสี่ยง

ธุรกิจเครื่องดื่ม

ความเสี่ยงในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มใหม่

ในการออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มใหม่แม้ว่าบริษัทจะได้มี การพิจารณาและวางแผน รวมถึงทำการทดสอบคุณภาพต่าง ๆ ทั้งทางด้านการผลิต การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การทดสอบ รสชาติ การทำโฆษณาและส่งเสริมการขาย ซึ่งส่งผลให้ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องมีการลงทุนที่สูง แต่ผลิตภัณฑ์ใหม่ บางประเภทยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร รวมทั้ง การแข่งขันที่รุนแรงในตลาดของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัทจึงได้เพิ่มความเข้มงวดในการเตรียมความพร้อม ในการออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มใหม่ ทั้งในส่วนของคุณภาพ สินค้า การมุ่งเน้นความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้ง กิจกรรมการตลาด เพื่อให้มั่นใจว่าการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ จะประสบความสำเร็จเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

ความเสี่ยงจากการมีแหล่งวัตถุดิบที่มีจำกัด

เนื่องจากบริษัทมีนโยบายซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพเพื่อให้ สามารถผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน ดังนั้น บริษัทจะไม่ซื้อ วัตถุดิบบางชนิดหรือวัตถุดิบจากผู้ขายเพียงรายเดียว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการขาดแคลนหรือขาด อำนาจต่อรองทางด้านราคาได้ โดยที่ผ่านมา บริษัทกำหนด ให้ฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์และฝ่ายจัดซื้อดำเนินการแสวงหา ผู้ขายสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อให้มีผู้ขายสินค้ามากรายยิ่งขึ้น

ความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาวัตถุดิบ

จากการที่ราคาพลังงานชนิดต่าง ๆ การนำธัญพืชมาผลิต เป็นพลังงานทดแทน และความต้องการใช้วัตถุดิบหลาย ๆ อย่างในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และกลุ่มประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ ต้นทุนต่าง ๆ ในส่วนของค่าขนส่ง เชื้อเพลิง เยื่อกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากปิโตรเลียมมีความผันผวนไปตาม อุปสงค์และอุปทานในตลาด บริษัทจึงได้ดำเนินการทำสัญญา ระยะปานกลางและระยะยาวกับผู้ขายบางรายเพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีผลกระทบกับต้นทุนของบริษัทมากนัก

ความเสี่ยงด้านการแข่งขันทางธุรกิจ

ด้วยสภาวการณ์การแข่งขันทางด้านธุรกิจเครื่องดื่มเป็นไป อย่างรุนแรง มีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ ซึ่งมีศักยภาพสูง นำสินค้าออกสู่ตลาดพร้อมกิจกรรมทางการตลาดที่รุนแรง อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีนโยบายแข่งขัน ทางด้านภาพลักษณ์ ในรูปแบบการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมการตลาดรูปแบบต่าง ๆ อย่างเหมาะสมทั้งนี้ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีคุณภาพและ ภาพลักษณ์ที่เหนือกว่า รวมถึงบริษัทมีความเชื่อว่า ยิ่งการแข่งขันมีมากเท่าใดย่อมส่งผลดีต่อผู้บริโภคและ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มมากขึ้นเท่านั้น เพราะจะทำให้ การเติบโตของตลาดในธุรกิจประเภทนี้เติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลทำให้ธุรกิจของบริษัทเติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน

ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

จากมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี 2554 ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายให้แก่บริษัท เป็นจำนวนมากนั้น บริษัทจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจำเป็น ในการป้องกันและกระจายความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก โดยได้ดำเนินการต่าง ๆ เช่น การก่อสร้าง โรงงานแห่งใหม่ที่อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี การวางแผน และสร้างกำแพงป้องกันน้ำท่วมในส่วนโรงงานนิคม อุตสาหกรรมนวนคร นอกเหนือจากเขื่อนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ของนิคมอุตสาหกรรมเอง ตลอดจนมีการกำหนดแผนสำรอง ฉุกเฉินในเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะสามารถ ดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย

ธุรกิจร้านอาหาร

ความเสี่ยงในด้านการจัดหาพื้นที่เช่าสำหรับขยาย สาขาใหม่และรักษาพื้นที่เช่าสำหรับสาขาเดิม

เนื่องด้วยทำเลที่ตั้งของสาขาเป็นปัจจัยแห่ง ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร ประกอบกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจ ร้านอาหารในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดข้อจำกัด ต่อผู้ประกอบการในการแสวงหาพื้นที่ขยายสาขาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า ที่มุ่งเน้นการเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าในแหล่ง ชุมชน และโดยปกติการเช่าพื้นที่จะทำเป็น สัญญาเช่าระยะสั้น 3 ปี และสามารถต่ออายุ สัญญาเช่าได้อีก 3 ปี ซึ่งบริษัทมีความเสี่ยง ที่จะไม่ได้รับการต่ออายุสัญญาเช่าหรืออาจมี การปรับอัตราค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบริษัทได้มี การวางแผนในการรักษาพื้นที่เช่าโดยการรักษา และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ให้เช่า รวมถึง มีการติดตามและแสวงหาพื้นที่ในทำเลที่ดีใหม่ ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะมีพื้นที่ที่มีทำเลที่ตั้งที่ดี ในการรองรับการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง

ความเสี่ยงด้านต้นทุนจากการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์

เนื่องจากในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารนั้น บริษัทให้ ความสำคัญกับคุณภาพ ความสดใหม่ของวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์เป็นหลักสำคัญ มากกว่าร้อยละ 50 ของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ อันได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก ผลไม้ และขนมปัง มีอายุการใช้งานสั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต หากขาด การบริหารจัดการและควบคุมการใช้วัตถุดิบอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านต้นทุน บริษัทได้กำหนดนโยบายการจัดซื้อและการบริหาร จัดการสินค้าคงคลัง ด้วยการสั่งซื้อในลักษณะ วันต่อวันในจำนวนที่พอเพียง และจัดเก็บในห้องเย็น รักษาอุณหภูมิเพื่อลดการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบ รวมถึงมีระบบการควบคุมสินค้าและวัตถุดิบคงคลัง แบบ First-In-First-Out (FIFO)

ความเสี่ยงจากการมีแหล่งวัตถุดิบที่มีจำกัด

เนื่องจากบริษัทมีนโยบายซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน ดังนั้น บริษัทไม่ซื้อวัตถุดิบบางชนิด หรือวัตถุดิบจากผู้ขาย เพียงรายเดียว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจาก การขาดแคลนหรือขาดอำนาจต่อรองทางด้านราคาได้ โดยที่ผ่านมา บริษัทกำหนดให้ฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์ และฝ่ายจัดซื้อดำเนินการสรรหาผู้ขายสินค้าที่มี คุณภาพเพื่อให้มีผู้ขายสินค้ามากรายยิ่งขึ้น

สำหรับธุรกิจอาหารพร้อมปรุงและพร้อมทาน บริษัท ให้ความสำคัญกับคุณภาพและความสดใหม่ของ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เป็นหลักสำคัญ ซึ่งแม้วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์มากกว่าร้อยละ 50 อันได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง และขนมปัง จะมีอายุการใช้งานและ บริโภคที่ค่อนข้างสั้น ซึ่งหากขาดการบริหารจัดการ และควบคุมการใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตได้ ดังนั้น เพื่อควบคุมและลดความเสี่ยงในด้านต้นทุนดังกล่าว บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการจัดซื้อและการบริหาร จัดการสินค้าคงคลัง ด้วยการสั่งซื้อในลักษณะ การประมาณการอย่างเพียงพอ และมีการจัดเก็บรักษา เพื่อคงคุณภาพ ลดการเสื่อมสภาพและยืดอายุ การใช้งานด้วยระบบห้องเย็นรักษาอุณหภูมิที่มี ประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบการควบคุมสินค้าและ บริหารจัดการวัตถุดิบคงคลังแบบ First-In- First-Out (FIFO) จึงส่งผลให้บริษัทไม่ได้รับ ผลกระทบจากความเสี่ยงในด้านนี้มากนัก

ความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาวัตถุดิบและ ต้นทุนการผลิตสินค้า

จากการที่วัตถุดิบบางชนิดเป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยม จากผู้บริโภคสูง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น โรคระบาดของพืชและสัตว์ที่เป็นวัตถุดิบหลัก ทำให้เกิดการขาดแคลน และราคามีความผันผวน อย่างไรก็ตาม บริษัทได้พิจารณาทำสัญญาระยะ ปานกลางและระยะยาวกับผู้ขายบางรายไว้แล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทมากนัก

ความเสี่ยงด้านการแข่งขันทางธุรกิจ

เนื่องจากความนิยมในอาหารญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว ในประเทศไทย จึงทำให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก และมีคู่แข่งบางรายเปิดร้านอาหาร แนวเดียวกับของบริษัทในทำเลที่ใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม บริษัทมีนโยบายแข่งขันทางด้าน คุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมการตลาดรูป แบบต่าง ๆ โดยไม่เน้นการตัดราคา ทั้งนี้ เนื่องจาก บริษัทมีความเชื่อว่ายิ่งการแข่งขันมีมากเท่าใด ย่อมส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารมากขึ้นเท่านั้น เพราะจะทำให้การเติบโตของตลาดในธุรกิจประเภทนี้ เติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลทำให้ธุรกิจของ บริษัทเติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน

ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

จากมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี 2554 ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายให้แก่บริษัท เป็นจำนวนมากนั้น บริษัทจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จำเป็นในการป้องกัน และกระจายความเสี่ยงจาก ภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก โดยได้ดำเนินการต่าง ๆ เช่น การย้ายครัวกลางจากเดิมที่นิคมอุตสาหกรรม นวนครไปยังครัวกลางแห่งใหม่ที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม รวมถึงบริษัทได้กระจายการลงทุนไปยังจังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีทำเลที่ตั้งสูง และมีการคมนาคม ขนส่งสะดวก จึงน่าจะปลอดภัยและไม่ได้รับผลกระทบ จากภัยธรรมชาติ ตลอดจนมีการกำหนดแผนสำรอง ฉุกเฉินในเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจ จะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและ ปลอดภัยด้วย

ความเสี่ยงจากผลกระทบจากสถานการณ์ทาง การเมืองและเศรษฐกิจ

ในปี 2559 แม้สถานการณ์ทางการเมืองจะเริ่มมีทิศทาง ที่ดีขึ้น แต่ยังคงมีผลกระทบสืบเนื่องด้านภาวะเศรษฐกิจ อาทิ ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายครัวเรือน ที่มีอัตราที่สูงขึ้น และกำลังการซื้อของผู้บริโภค ที่ลดน้อยลง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวยังคงส่งผลกระทบ ต่อผลประกอบการโดยรวมของธุรกิจอาหาร

อย่างไรก็ดี แม้บริษัทจะได้รับผลกระทบจากปัจจัย ความเสี่ยงดังกล่าวแต่จากการติดตามสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด พร้อมกำหนดกลยุทธ์และแนวทาง การตลาดที่เหมาะสมทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบ จากปัจจัยดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ

ธุรกิจอาหารพร้อมปรุงและพร้อมทาน

ความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาวัตถุดิบและ ต้นทุนการผลิตสินค้า

เนื่องจากปัจจุบันจำนวนยอดขายของอาหารพร้อมปรุง และพร้อมทานที่จำหน่ายนั้น ยังมีจำนวนที่ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับขนาดของตลาดโดยรวม ทำให้การบริหาร และการจัดการด้านการผลิตสินค้าของโรงงาน อุตสาหกรรมของกลุ่มบริษัทโออิชิ ยังไม่สามารถ บริหารและจัดการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการผลิตและต้นทุนของสินค้า สูงขึ้นตามไปด้วย โดยบริษัทได้กำหนดแนวทางให้ ทุกหน่วยงาน อาทิ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายผลิต และฝ่ายขาย ประสานงานร่วมกันเพื่อให้ สามารถบริหารจัดการกำลังการผลิตและควบคุม ค่าใช้จ่าย ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงเน้นการขยายช่องทางการขายสินค้าให้มากขึ้น เพื่อสร้างยอดขายอันจะเป็นการช่วยลดต้นทุน การผลิตและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วย

ความเสี่ยงด้านการแข่งขันทางธุรกิจ

สำหรับธุรกิจอาหารพร้อมปรุงและพร้อมทาน มีสภาวะ การแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง โดยเฉพาะการที่เจ้าของ ธุรกิจในช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าหันมาผลิต สินค้าภายใต้ตราสินค้าของตนเอง ส่งผลให้ผู้ขาย สินค้านอกจากจะต้องวิจัยและพัฒนาเพื่อแข่งขัน ด้านผลิตภัณฑ์แล้วยังต้องเพิ่มภาระด้านการต่อรอง เรื่องเงื่อนไขการค้าต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็น การลดและป้องกันความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าว บริษัท จึงให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาและรักษาคุณภาพ ของสินค้า รวมถึงเน้นการสร้างตราสินค้าให้เป็น ที่รู้จักและสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าของบริษัท ให้มากยิ่งขึ้น

ความเสี่ยงด้านการพัฒนาสินค้าใหม่

เนื่องจากอาหารพร้อมปรุงและพร้อมทานที่จำหน่าย ในปัจจุบันมีช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ เป็นหลัก ทำให้การพัฒนาสินค้าต้องมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะได้มีการวางแผนอย่าง รอบคอบและระมัดระวังแล้วก็ตาม แต่ด้วยพฤติกรรม การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทำให้สินค้า บางรายการหรือบางรสชาติอาจจะยังไม่ตอบสนอง ต่อความต้องการของตลาดและกลุ่มผู้บริโภคได้ ดังนั้น หน่วยงานพัฒนาสินค้าจึงให้ความสำคัญ ในการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อให้ สามารถตอบสนองได้ตรงและทันต่อความต้องการ และกระแสการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้บริโภคได้

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์

บริษัทได้เริ่มดำเนินการตามแผน “วิสัยทัศน์ 2020” เพื่อเติบโตและ ก้าวเป็นบริษัทอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งแม้ว่า บริษัทจะได้มีการพิจารณาและวางแผนอย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ แต่อาจมี ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบให้บริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจ ให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ อันจะกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี ซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัท โดยคณะกรรมการของ บริษัท มีส่วนร่วมในการพิจารณากลั่นกรองอนุมัติแผนการดำเนินการ ดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีการติดตามประเมินผลในทุกขั้นตอนอย่าง ใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนงานและกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ และมีการทบทวนแผนกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์ และการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือ บริษัทในกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่

บริษัทมีสัดส่วนการจัดจำหน่ายผ่านบริษัทในกลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“กลุ่มบริษัท”) คิดเป็นประมาณร้อยละ 90 ของยอดขาย รวมของธุรกิจเครื่องดื่ม ซึ่งถือเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมพื้นที่การให้บริการมากที่สุดช่องทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ”) เป็นผู้ถือหุ้น รายใหญ่ของบริษัทโดยมีสัดส่วนการถือหุ้นประมาณร้อยละ 79.66 ดังนั้น การจัดจำหน่ายสินค้าในกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มจึงมีลักษณะพึ่งพิง บริษัทในกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงและผลกระทบ ต่อผลการดำเนินงานของบริษัทได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือไม่ได้รับความสนใจในการจัดจำหน่าย สินค้าของบริษัท

อย่างไรก็ดี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้รับความร่วมมือทางธุรกิจ จากกลุ่มบริษัทเป็นอย่างดีและมีวิธีการทำงานที่มีระเบียบแบบแผนสากล อันเป็นที่ยอมรับทั่วไป อีกทั้งการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านเครือข่าย กลุ่มบริษัทของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยังถือได้ว่าเป็นการบริหารจัดการและ จัดสรรทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นประโยชน์สูงสุด ต่อบริษัทและผู้ถือหุ้นทุกฝ่าย นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการเข้าทำสัญญา การจัดจำหน่ายระยะกลางอย่างเป็นทางการกับกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กลุ่มบริษัทยังคง ต้องเป็นผู้จัดจำหน่ายให้บริษัทต่อไปจนหมดสัญญา ทำให้บริษัทมีเวลา ในการสรรหาและแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายรายใหม่ได้โดยไม่ส่งผลกระทบ ต่อการดำเนินงานของบริษัท

ความเสี่ยงต่อการลงทุนของผู้ถือหลักทรัพย์

ความเสี่ยงจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจกำหนด นโยบายการบริหาร

ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2559 ไทยเบฟเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บริษัท โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นประมาณร้อยละ 79.66 ของ ทุนชำระแล้ว ด้วยสถานะดังกล่าวทำให้ไทยเบฟสามารถควบคุม มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้ง กรรมการ หรือการขอมติในเรื่องอื่นที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ของ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนเรื่องที่กฎหมายหรือข้อบังคับบริษัท กำหนดให้ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้น ผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัทอาจมีความเสี่ยงจากการไม่สามารถ รวบรวมคะแนนเสียงเพื่อถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เสนอได้

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างโปร่งใสและ เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทได้จัดโครงสร้าง การบริหารจัดการซึ่งประกอบไปด้วยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และได้กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน รวมถึง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย กรรมการอิสระที่ไม่มีส่วนได้เสียกับบริษัท 3 คน เพื่อทำหน้าที่ ในการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท และดูแลผลประโยชน์ ของผู้ถือหุ้นรายย่อยได้อย่างเพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดการถ่วงดุล อำนาจในการบริหารจัดการในระดับที่เหมาะสมและสามารถ ตรวจสอบได้

ความเสี่ยงจากการที่จำนวนหุ้นของบริษัทที่ซื้อขาย หมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“Free float”) ค่อนข้างต่ำส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง ในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2559 บริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้น ของผู้ถือหุ้นรายย่อยคิดเป็นร้อยละ 20.34 ซึ่งอาจทำให้ มีสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์ไม่มากนัก ผู้ถือหุ้น จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่สามารถขายหุ้นของบริษัทได้ทันที ในราคาที่ต้องการ

อย่างไรก็ดี บริษัทจะติดตามและดำรงสภาพคล่องของ Free float ให้มีความเหมาะสมต่อผู้ถือหุ้นต่อไป

Data is presented as of Year 2016.