ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

บุคลากร ถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนองค์กร โออิชิจึงให้ความสำคัญและใส่ใจความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความปลอดภัย มีการวางระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับพนักงาน พร้อมส่งเสริมให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพร่างกายและจิตใจของพนักงาน เพื่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและสุขภาพที่ดีของพนักงาน

การดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

โออิชิกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงานให้ครอบคลุม 4 ด้าน ดังนี้

(1) ด้านความปลอดภัย
โออิชิจัดทำระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติตามกฎหมาย และมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยสูงสุด คือ ปราศจากอุบัติเหตุ (Zero accident) และโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน (Zero occupational diseases) รวมทั้งปลูกฝังให้เกิดวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยอย่างยั่งยืนโดยมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้
- กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน
- กำหนดโครงสร้างการบริหารงานด้านความปลอดภัยอย่างชัดเจน โดยมีการจัดตั้งฝ่ายความปลอดภัย OH&S และแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย(คปอ.) ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและเกิดการผลักดันให้งานด้านความปลอดภัยดำเนินไปได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
- จัดทำและขอการรับรองระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO45001 เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับกฎหมาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและมีการตรวจติดตามประจำปี (Annual surveillance for continual improvement)
- มีการประเมินอันตรายและความเสี่ยงในการทำงานครอบคลุมทุกขั้นตอนและทุกพื้นที่การทำงาน รวมทั้งมีการตรวจความปลอดภัย (Safety Patrol) โดยคณะกรรมการความปลอดภัย เพื่อค้นหาอันตรายและความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตราย พร้อมนำผลการตรวจไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้น
- กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเขียน Near miss report, การทำโครงการปรับปรุง Safety improvement project
- มีการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกกรณี เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ และขยายผลไปทุกโรงงานที่มีลักษณะงานหรือความเสี่ยงที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ ได้นำเอาเครื่องจักรที่ทันสมัยและมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยมาใช้งาน เพื่อลดอุบัติเหตุ
- ความเสี่ยง และป้องกันโรคจากการทำงาน
- สร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยให้กับพนักงาน โดยจัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย รวมทั้งมีการฝึกอบรมมาตรฐานขั้นตอนการทำงาน โดยเน้นให้พนักงานได้ฝึกและทดลองปฏิบัติจริงผ่านการเรียนรู้จาก Safety DOJO และการ On Job Training: OJT
- มีระบบการเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น ฝึกซ้อมแผนดับเพลิงและอพยพหนีไฟเป็นประจำทุกปีตามที่กฎหมายกำหนด ฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินอื่น ๆ ตามลักษณะอันตรายและความเสี่ยงของพื้นที่การทำงาน และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติ เป็นต้น
- เป็นส่วนหนึ่งในระบบ TPM: Total Productive Maintenance เพื่อใช้เทคนิคด้าน TPM ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงาน ให้ทำงานอย่างปลอดภัย ปลอดโรคและมีความสุข

(2) ด้านอาชีวอนามัย
สำหรับการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย โออิชิดููแลพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีสุุขภาพและอนามัยที่ดีภายใต้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและปลอดภัย ดังนี้
- จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สะอาด ปลอดภัย เหมาะสมตามข้อกำหนดของกฎหมาย ทั้งในส่วนของพื้นที่การทำงาน และส่วนที่เป็นระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมถึงมีห้องพยาบาลที่มีพยาบาลประจำคอยให้การดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น กรณีพนักงานได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
- กรณีพื้นที่การทำงานมีอันตรายและความเสี่ยง โออิชิมีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขที่ต้นเหตุ แต่ถ้าหากในกรณีที่แก้ไขแล้วยังมีความเสี่ยงเหลืออยู่ โออิชิจะจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมให้กับพนักงาน
- ตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานตามลักษณะอันตรายและความเสี่ยง เพื่อให้เป็นไปตามหลักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial hygiene) และข้อกำหนดของกฎหมาย ทั้ง แสง เสียง ความร้อน สารเคมี
- มีการตรวจสุขภาพประจำปีและตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงให้กับพนักงานตามลักษณะอันตรายหรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อดูแลสุขภาพพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ไม่มีพนักงานเป็นโรคเนื่องจากการทำงาน แต่หากพบว่าพนักงานมีผลการตรวจสุขภาพผิดปกติ จะมีการส่งตรวจซ้ำ และส่งพนักงานเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ รวมทั้งมีการพิจารณาเปลี่ยนลักษณะงาน หรือปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน/เครื่องมือเครื่องจักรให้มีความปลอดภัยต่อพนักงานมากขึ้น
- มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยมุ่งเน้นใส่ใจในการป้องกันโรคให้กับพนักงาน เช่น มีกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานออกกำลังกาย และให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

(3) ด้านสภาวะแวดล้อมในการทำงาน
โออิชิดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 : สภาพแวดล้อมทั่วไปและสิ่งแวดล้อม
- เตรียมพร้อมสถานที่่ทำงานให้เหมาะสม จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การทำงาน และเฟอร์นิเจอร์สำนักงานที่่เหมาะสมและได้มาตรฐานให้กับพนักงาน
- มีระบบสาธารณูปโภคที่ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมให้กับพนักงาน เช่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องน้ำ พื้นที่พักผ่อน พื้นที่สูบบุหรี่
- จัดทัศนียภาพ สภาพแวดล้อมภายในองค์กรให้น่าอยู่ เป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อความรู้สึกของพนักงาน สร้างแรงบันดาลใจ และผลักดันให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำมาสู่ความสำเร็จให้กับองค์กร
ส่วนที่ 2 : สภาพแวดล้อมในการทำงาน
- จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยและเหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ ลดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากโรคจากการทำงาน
- มีระบบการตรวจสอบพื้นที่การทำงานเป็นประจำ (Monthly safety patrol) หากพบว่าพื้นที่การทำงานมีอันตรายและความเสี่ยง จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดหรือกำจัดอันตรายนั้น ๆ ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานสูงสุด
- มีระบบการตรวจสอบ ตรวจวัด และติดตามผลการปรับปรุงแก้ไขกรณีที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมาย หรือข้อกำหนดเป็นประจำทุกปี (Annual monitoring and measurement) ทั้งนี้ เพื่อมุ่งมั่นให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยในการทำงานที่ดี


(4) ด้านการดููแลพนักงานในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19


โออิชิให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่สร้างผลกระทบต่อองค์กรและพนักงานทุกคน โออิชิจึงมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกัน ดูแล อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือพนักงานทุกคน
- บริหารจัดการพื้นที่ในการทำงานตามความเหมาะสม เช่น ปรับที่นั่งทำงานตามหลักการเว้นระยะห่าง 1.8 เมตร (Social Distancing)
- นโยบายการทำงานจากบ้าน (Work from Home) สำหรับกลุ่มพนักงานที่สามารถทำงานผ่านระบบออนไลน์ต่าง ๆ ได้ เพื่อลดความเสี่ยงสำหรับตัวพนักงานและคนในครอบครัว
- มาตรการด้านความปลอดภัยในการเข้าสถานที่ทำงาน เช่น มีจุดตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโควิด-19 การทำความสะอาดฆ่าเชื้อ การติดตั้งเจลแอลกอฮอล์ในพื้นที่ต่าง ๆ การตรวจวัดอุณหภูมิ รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเข้าพื้นที่ทำงาน
- ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบันทึกเวลาเข้า - ออกงานแทนการสแกนด้วยนิ้วมือในการเข้าทำงานตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส
- มอบสวัสดิการเสริมให้พนักงาน เช่น อำนวยความสะดวกให้กับพนักงานในการตรวจหาเชื้อโรค โควิด-19 การฉีดวัคซีน และโรงพยาบาลรองรับพนักงานที่ติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งทำประกันสุขภาพสำหรับโรคโควิด-19 ให้กับพนักงานทุกคน
- แจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ให้กับพนักงานและครอบครัว
- มีศูนย์บริการพนักงานช่วงโควิด-19 ของไทยเบฟ เพื่อให้พนักงานสามารถโทรสอบถามข้อมูลและรับคำปรึกษาการรับมือช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะพนักงานที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
- มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบเชิงรุกในพนักงานกลุ่มโรงงานโออิชิเป็นประจำทุก ๆ หนึ่งเดือนในพื้นที่ที่การแพร่ระบาดต่ำ และทุก ๆ 2 สัปดาห์ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูง
- มีการจัดตั้ง Isolation Center ของไทยเบฟ เพื่อเป็นสถานที่พักกักตัวสำหรับพนักงานที่สัมผัสความเสี่ยงซึ่งไม่สามารถแยกกักตัวเองที่บ้านได้ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากบุคคลในครอบครัว รวมถึงช่วยป้องกันการกระจายความเสี่ยงจากตัวพนักงานไปยังบุคคลในครอบครัวด้วย